ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ (Brand Assosiation)
เป็นแบรนด์ที่ยังไม่ใช่พรีเมียมแบรนด์ มีรารคาที่ทุกระดับซื้อได้ กลุ่มเป้าหมา ยส่วนใหญ่เป็น พนักงานหรือลูกจ้างจนถึงนักศึกษา ประชาชนที่อยู่ตามต่างจังหวัด ในแง่ของรสชาติแน่นอนไม่สามารสสู้กับเบียร์ที่เป็นพรีเมียมอย่าง สิงห์ ไฮเนเกนส์หรือเบียร์ต่างประเทศยี่ห้ออื่นๆได้ ด้วยความที่มีปริมาณแอลกอฮอร์ที่สูงกว่าเบียร์ยี่ห้ออื่นๆ ซึ่งช้างเองก็ได้แก้ไขในจุดนี้โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ มี ช้างไลท์ ช้างคลาสสิก ช้างดราฟท์ ซึ่งทั้งสามแบบนี้มีรสชาติและปริมาณแอลกอฮอร์ที่แตกต่างกันออกไป และยังเพิ่มความsmoothขึ้นมาทำให้เบียร์กลมกล่อมมากขึ้น ซึ่งประสบความสำเร็จมากในแง่ของการได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆเพิ่มขึ้นจากเดิม
เพราะเป็นแบรนด์ที่ผลิตแอลกอร์ฮฮ มีโทษมากกว่าคุณประโยชน์ เด็กและเยาวชนไม่ควรที่จะรู้จักแบรนด์เหล่านี้ด้วยซ้ำไป ซึ่งแน่นอนมุมมองของสังคมย่อมไม่สนับสนุน แต่ช้างเองก็ได้ปรับข้อเสียที่คนในสังคมมีต่อแบรนด์ให้กลับมาเป็นข้อดีและเป็นจุดเด่นกลยุทธ์สำคัญอีกประการหนึ่งของช้างนั่นก็คือ การทำ CSR Ativities การช่วยเหลือสังคม การสนับสนุนศึกษา กีฬา รวมถึงศิลปวัฒนธรรม ในโค รงการที่มีอยู่มากมายและมีอยู่เป็นประจำเช่น “ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว” "ขับขี่ปลอดภัยกับไทยเบฟ" “Chang-Everton Projects for Better Living” “สานใจไทยสู่ใจใต้” เป็นต้น นับเป็นการลดความที่เป็นแบรนด์ตรงข้ามกับศีลธรรมในสังคมลงไปได้มาก และประสบความสำเร็จในเรื่องการเปลี่ยนมุมมองของสังคมที่มีต่อแบรนด์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น